วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Constructivism Theory ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการตีความหรืออนุมาน

การเรียนรู้แบบ Constructivism เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่ว่าด้วยการการเรียนรู้โดยธรรมชาติของมนุษย์ที่ได้มาจากประสบการณ์ หรือสิ่งที่ปฏิบัติอย่างเป็นประจำ และนำมาเชื่อมโยงกับความรู้เดิมเกิดเป็นความรู้ใหม่ ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวมิได้ใช้แค่เพียงจัดการเรียนการสอนเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปใช้พัฒนาการศึกษาได้ด้วย ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ เป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน อีกทั้งยังมีผลการวิจัยรับรองว่าการเรียนรู้ตามทฤษฎีนี้นั้น เป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมการเรียนรู้

ความสำคัญของการเรียนตามหลักทฤษฎีการเรียนรู้แบบอนุมาน(Constructivism Theory)

ความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีการเรียนรู้แบบอนุมาน(Constructivism Theory)

ด้านภูมิหลังของผู้เรียน

เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้ในเรื่องใหม่ความรู้เก่าของผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียน มีความมั่นใจมากขึ้น ว่าความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนได้ค้นพบเองนั้น มีความถูกต้องน่าเชื่อถือ นำไปสูการบรรลุจุดประสงค์ทางการเรียน พฤติกรรมการเรียนที่ควรปลูกฝังให้แก่นักเรียน คือการสอนให้นักเรียนมีความพยายามที่จะหาตำตอบของปัญหาที่ได้มาจากการศึกษาสังเกต สืบค้นข้อมูล จนกระทั่งทราบแน่ชัดว่า คำตอบนั้นครบสมบูรณ์ครบทุกประเด็นปัญหา

ด้านแรงจูงใจของผู้เรียน

โดยธรรมชาติแล้วผู้เรียนต้องการแรงจูงใจมากระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตนเอง เมื่อมีแรงกระตุ้นก็จะเกิดความมั่นใจและกล้าที่จะดึงความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวออกมา รวมทั้งหากมีการแข่งขันในชั้นเรีนยก็จะช่วยเพิ่มพัฒนาการ ในการเรียนรู้ได้

ด้านความชำนาญของผู้สอน

ผู้สอนควรที่จะพัฒนาของตนเอง ให้เป็นมากกว่าผู้สอนที่ใช้เพียงสื่อในการถ่ายทอดความรู้ ซึ่งมีแนวในการปฏิบัติคือ

–ฝึกให้นักเรียนรู้จักการตั้งคำถาม และค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

-การจัดการเรียนการสอนแบบ จิกซอว์ โดยแบ่งกลุ่นักเรียนตามหัวข้อต่างๆแล้วนำมาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน

-การจัดการเรียนรู้แบบสืบค้นข้อมูล

ด้านธรรมชาติของการเรียน

ควรเรียนแบบร่วมมือ ช่วยเหลือกันเพราะการเรียนในรูปแบบนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้และเข้าใจไปพร้อมๆกัน อีกทั้งวิธีนี้ผู้เรียนสามารถหาความสำคัญของเรื่องที่สนใจได้ด้วยตนเอง

บทบาทระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน

ผู้สอนและผู้เรียนมีความเท่าเทียมกันในการเรียนรู้เพราะต่างฝ่ายต่างจะต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกันจนเกิดความเชื่อมั่น เห็นความสำคัญของกันและกัน

บทบาทของผู้เรียน

ผู้เรียนทุกคนมีความแตกต่างกันทั้งด้าน ความรู้เดิมและทักษะ ควรให้แต่ละคนนำความรู้ที่ตนมีอยู่มาอภิปรายร่วมกันเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้ได้มีความรู้ที่ค่อนข้างจะเท่าๆกัน และต้องกำหนดถึงความหมายและความเข้าใจในเรื่องที่ตนเองได้เรียนรู้มา

การประเมินคุณค่า

เพื่อเป็นการเน้นย้ำเพื่อให้เห็นความสำคัญและรู้คุณค่า ในความรู้ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้มา ว่าสามารถนำไปใช้อย่างไรต่อไปอีกบ้าง การประเมินคุณค่าของความรู้นั้นควรจะต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ทราบถึงการรับรู้การตอบสนอง และพัฒนาการของผู้เรียน

ขอบเขตของการจัดการเรียนรู้

ควรจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการไม่ควรเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง ซึ่งผู้เรียนควรได้รับการพัฒนาทักษะอย่างสม่ำเสมอ ทำผู้เรียนเกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธ์ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง

สรุป ทฤษฎีการเรียนรู้แบบอนุมาน(Constructivism Theory) มีอิทธิพลอย่างมากต่อการฝึกฝนผู้เรียนให้มีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น ส่วนในด้านผู้สอนมิใช่มีหน้าที่เพียงแค่สังเกตและประเมินผลเท่านั้น แต่จะต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของนักเรียน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีเหตุมีผล เมื่อมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น ครูจะต้องตัดสินความถูกต้องโดยใช้เหตุและผลได้

1 ความคิดเห็น: